ยาขับลมตราเพชรแดง (เปล้าตะวัน)
กรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก โรคกระเพาะ จุกแน่น อาหารไม่ย่อย
ตำรับยาจากสมุนไพร 4 ชนิด เปล้าตะวัน กระเพราแดง ขิงแก่ ตะไคร้ บรรจุแคปซูล สำหรับผู้มีปัญหาเกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการแสบร้อนกลางอกจากกรดไหลย้อน ท้องอืด อาหารไม่ย่อย กลืนลำบาก จุกที่ลำคอ แผลในกระเพาะอาหาร แสบท้อง แสบกลางอก ท้องผูก และริดสีดวงทวาร บำรุงและฟื้นฟูระบบย่อยอาหาร สมานแผลในกระเพาะ และลดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหาร ต้นเหตุของโรคกรดไหลย้อน
"เห็นผลดี ตั้งแต่เดือนแรกที่ทาน"
ช่วยขับและกระจายลมที่ค้างในกระเพาะลำไส้ แก้อาการท้องอืด จุกเสียดแน่น อาหารไม่ย่อย กลืนลำบาก บรรเทาอาการแสบร้อนท้องแสบกลางอก ช่วยลดกรดเกินในกระเพาะอาหาร เห็นผลดีตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์ สำหรับผู้ป่วยเป็นโรคกระเพาะอาหารหรือกรดไหลย้อน ควรทานยาสมุนไพรอย่างน้อย 1-3 เดือน สำหรับอาการที่เป็นมานานหรือเป็นเรื้อรัง แนะนำให้ทานอย่างน้อย 3-6 เดือน
เปล้าตะวัน รายเดียวในประเทศไทย
ยาแผนโบราณ จากสมุนไพรออร์แกนิค 100%
ปลอดภัย ไม่สะสมในร่างกาย
รักษาอาการที่ต้นเหตุ ทานร่วมกับยาแผนปัจจุบันได้
“กินไม่เลือก เคี้ยวไม่ละเอียด กินแล้วนอน ตันเหตุของกรดไหลย้อน”
กรดไหลย้อนและโรคกระเพาะอาหาร ล้วนมีต้นเหตุเดียวกันคือ พฤติกรรมการกินที่ไม่ถูกต้อง เช่น เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด กินเร็ว กินเยอะ กินแล้วนอนทันที ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้ต้องทำงานหนักมากขึ้น เมื่อเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ระบบย่อยจะเริ่มมีปัญหา น้ำย่อยหลั่งไม่เป็นเวลา ทำให้ท้องอืด แสบท้อง จุกเสียดลิ้นปี่ จนเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หากลมในท้องดันขึ้นมาพร้อมน้ำย่อยเหมือนมีก้อนมาจุกที่คอ กลืนลำบาก หรือมีอาการแสบร้อนกลางอก เรียกว่า โรคกรดไหลย้อน ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ
โรคกรดไหลย้อนระยะที่ 1: ท้องอืด แน่นท้อง จุกที่คอ แน่นหน้าอก หรือเป็นโรคกระเพาะอาหาร ควรทานยารักษา 1 เดือน
โรคกรดไหลย้อนระยะที่ 2: มีลมจุกที่คอ กลืนลำบาก รู้สึกคลื่นไส้เวลาทานอาหาร มีอาการแสบร้อนกลางอกถี่ขึ้น หูรูดหลอดอาหารเริ่มมีปัญหา ควรทานยารักษาอย่างน้อย 2 เดือน
โรคกรดไหลย้อนระยะที่ 3: มีอาการแสบร้อนกลางอกขึ้นมาถึงคอ หูรูดหลอดอาหารโดนน้ำย่อยกัดจนอักเสบ จุกแน่น ท้องอืดตลอดเวลา ท้องผูกเรื้อรัง หายใจไม่สุด นอนไม่หลับ เพราะระบบย่อยและการดูดซึมเสื่อม ควรทานยารักษาอย่างน้อย 3-6 เดือน
การปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
• เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน จะช่วยให้กระเพาะอาหารย่อยง่ายขึ้น ไม่ควรทานอิ่มหรือแน่นจนเกินไป
• ห้ามอาบน้ำ/ออกกำลังกาย/นอนราบหลังทานอาหารทันที ควรเว้นอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
• งดการทานอาหารรสจัด มัน ทอด ดิบ ในระหว่างการรักษา ทานอาหารตรงเวลา
• ลด หรือหลีกเลี่ยง ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่
• ไม่เครียด ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อลดการหลั่งน้ำย่อยในเวลากลางคืน