Last updated: 26 ม.ค. 2562 | 12602 จำนวนผู้เข้าชม |
กรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหารที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
สถิติผู้ป่วยหรือผู้มีอาการกรดไหลย้อนมีมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารมักเกิดจากพฤติกรรมการทานที่ไม่ถูกต้อง หรือเรียกอีกอย่างว่า “โรคพฤติกรรมเป็นเหตุ” ไม่ว่าจะเป็นความเร่งรีบในการทำงานมากเกินไป การทานอาหารจานด่วนจนลืมที่จะทานอาหารเป็นยา ซึ่งเป็นสาเหตุของระบบทางเดินอาหารเสื่อมและเป็นจุดเริ่มต้นของกรดไหลย้อน
โรคกรดไหลย้อน สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับคือ
ระดับที่ 1: มีภาวะกรดไหลย้อนขึ้นเป็นบางครั้ง อาจมีอาการแสบกลางอกเล็กน้อย แล้วก็หายไป สามารถเป็นได้ทุกคน เช่น เวลาไปทานอาหารมื้อหนัก หรือทานข้าวเร็วเกินไป แม้จะไม่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร แต่หากเป็นบ่อยๆ ก็อาจเข้าสู่ระดับที่ 2 ได้
ระดับที่ 2: ภาวะหูรูดหลอดอาหารเริ่มอักเสบและหย่อน ทำให้น้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร (เรียกว่า กรดไหลย้อนภายใน) ทำให้รู้สึกแสบร้อนกลางอก จุกแน่นหน้าอกมาก เนื่องจากหลอดอาหารไม่มีเมือกป้องกันน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ทำให้ระคายเคืองและเป็นแผลได้
ระดับที่ 3: มีกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมากจนทำให้เกิดภาวะเรื้อรัง ซึ่งอาจลามไปถึงหลอดลมและกล่องเสียง (เรียกว่า กรดไหลย้อนภายนอก) ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง มีรสขมในปาก หากเป็นเรื้อรังมากๆ หากเกิดอาการอาเจียนเป็นเลือดได้
การบรรเทาอาการและป้องกันการกำเริบของอาการจากกรดไหลย้อน สามารถทำได้ง่ายมาก เพียงปรับพฤติกรรมการทานอาหารของเราใหม่ คือ การทานอาหารให้ช้าลง เคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารทำงานหนักเกินไป, ทานอาหารให้ตรงเวลา, หลีกเลี่ยงอาหารรสชาติจัดจ้านเกินไป, ไม่นอนทันทีหลังทานเสร็จใหม่ๆ (ควรนั่งพักอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง), งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูงๆ เช่น กาแฟ ชา รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์
โรคกรดไหลย้อน สามารถทานยาสมุนไพรเพื่อรักษาได้เช่นกัน ซึ่งเราขอแนะนำ ยาขับลมตราเพชรแดง ซึ่งเป็นตำรับจากสมุนไพรออร์แกนิค 4 ชนิด มีเปล้าตะวันที่มีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูและรักษาอาการอักเสบภายในระบบทางเดินอาหารได้เป็นอย่างดี เช่น แผลหลอดอาหาร หรืออาการอักเสบของกล้ามเนื้อหูรูด เนื่องจากมีสารเปลาโนทอลและฟลาโวนอยด์เป็นสารออกฤทธิ์สำคัญ และมีสมุนไพรร้าน ที่ช่วยขับลมในกระเพาะอย่าง กระเพราแดง ขิงแก่ และตะไคร้ ซึ่งเป็นตัวยาเสริมที่ช่วยขับผายลมลงล่าง ไม่ทำให้เรอบ่อย บำรุงระบบย่อยอาหาร ซึ่งใช้ได้เห็นผลเร็วกว่าสมุนไพรเชิงเดี่ยว จึงเหมาะใช้ในการช่วยบำรุงน้ำดี หรือเรียกอีกอย่างว่า “บำรุงกระเพาะ” (ทำให้กระเพาะย่อยอาหารได้ดีขึ้น)
30 พ.ค. 2561
4 ก.ย. 2562
27 ก.ย. 2561