ทำความรู้จักแบคทีเรีย H.Pylori ต้นเหตุโรคกระเพาะอาหาร

Last updated: 11 ธ.ค. 2564  |  7016 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำความรู้จักแบคทีเรีย H.Pylori ต้นเหตุโรคกระเพาะอาหาร

     ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย จุกใต้ลิ้นปี่ แสบร้อนและจุกแน่นท้อง... หากมีอาการเหล่านี้ สามารถสันนิษฐานได้เบื้องต้นว่าอาจเกิดจากโรคกระเพาะอาหาร/แผลในกระเพาะ ซึ่งอาจมีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น อาหารการกิน พฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตอย่างรีบเร่ง และอีกสาเหตุหนึ่งของโรคกระเพาะอาหารคือ การติดเชื้อแบคทีเรียชื่อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโรไล (H.pylori) ซึ่งในบทความนี้ จะทำความรู้จักกับเชื้อตัวนี้ รวมถึงวิธีการป้องกันรักษากันค่ะ

 

รู้จักกับเชื้อแบคทีเรีย H.Pylori

     เชื้อแบคทีเรียเอชไพโรไล เป็นเชื้อที่พบได้ทั่วไปในเขตร้อน (รวมถึงประเทศไทย) ซึ่งมักปนเปื้อนมากับอาหารดิบ น้ำไม่สะอาด อุปกรณ์การปรุง และช้อนส้อมที่ไม่ได้ทำความสะอาด โดยเชื้อตัวนี้มีคุณสมบัติพิเศษสำคัญอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ

     กระเพาะอาหารของคนเรานั้นมีสภาพความเป็นกรดสูงมาก นอกจากจะใช้ในการย่อยอาหารแล้ว ยังช่วยกำจัดเชื้อโรค/แบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอาหารด้วย เชื้อแบคทีเรียต่างๆเกือบทุกชนิดจึงไม่สามารถชีวิตอยู่ได้ในกระเพาะของเรา แต่ไม่ใช่กับเชื้อเอชไพโรโล...เพราะเชื้อตัวนี้มีคุณสมบัติพิเศษในการทนสภาวะความเป็นกรดสูง สามารถอาศัยอยู่ในกระเพาะอาหารของเราได้ เมื่อเชื้อชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายแล้ว มันจะไปฝังตัวอยู่ในกระเพาะอาหาร และมันสามารถอยู่ในกระเพาะของเราได้เป็น 10 ปี โดยผู้ที่ติดเชื้ออาจไม่มีอาการใดๆแสดงออกมาก็ได้ 

แล้วจะทราบได้อย่างไร ว่าเราติดเชื้อ H.Pylori ?
อาการที่แสดงออกจากการติดเชื้อ แบ่งได้เป็น 2 ระยะได้แก่

  1. ระยะเฉียบพลัน คือรับเชื้อแบคทีเรียเอชไพโรไลเข้าสู่ร่างกายจำนวนมาก ทำให้เกิดอาการของกระเพาะอาหารอักเสบ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน บางรายอาจมีไข้ร่วมด้วย อาการจะเป็นระยะหนึ่งแล้วหายไป เนื่องจากกลไกการป้องกันตัวเองของร่างกาย ที่จะพยายามกำจัดเชื้อตัวนี้ออกไป แต่ถ้าเชื้อยังถูกกำจัดออกไปไม่หมด เชื้อที่หลงเหลือบางส่วนก็จะฝังตัวเองอยู่ในกระเพาะอาหารต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเข้าสู่ระยะเรื้อรัง
  2. ระยะเรื้อรัง คือเชื้อที่อาศัยในกระเพาะอาหารมาเป็นเวลานาน เมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะภายในเริ่มเสื่อมลง ผิวเยื่อบุกระเพาะก็ค่อยๆถูกเชื้อเอชไพโรไลทำลายไปเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดเป็นโรคกระเพาะอักเสบเรื้อรังหรือแผลในกระเพาะอาหาร  แผลในลำไส้เล็ก และอาการอื่นๆตามมา เช่น อาหารไม่ย่อย แสบร้อนท้อง จุกเสียดแน่น เต็มไปด้วยลม ลุกลามไปเป็นโรคกรดไหลย้อน

วิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไพโรไล
• หลีกเลี่ยงอาหารดิบ อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ ของหมักดอง และผักสด (เนื่องจากล้างไม่สะอาด)

• ดื่มน้ำสะอาด

• ทำความสะอาดอุปกรณ์ประกอบอาหาร รวมถึงภาชนะที่ใช้ทานอาหารให้สะอาดหลังจากใช้งานเสร็จ

• หลีกเลี่ยงการใช้ช้อนร่วมกัน เนื่องจากเชื้อนี้สามารถติดต่อกันผ่านทางสารคัดหลั่งได้

การกำจัดเชื้อ H.Pylori
     หากตรวจพบเชื้อ H.Pylori แนวทางการรักษาของยาแผนปัจจุบันจะใช้ยาลดกรด 1 ชนิดร่วมกับยาปฏิชีวนะอีก 2 ชนิด ทานเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์เพื่อกำจัดเชื้อ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการจากแผลในกระเพาะอาหารมานาน อาจจะยังมีแผลในกระเพาะอาหารอยู่

ยาสมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหาร
     ยาขับลมตราเพชรแดง ใช้ตัวยาหลักจาก สมุนไพรเปล้าตะวัน อุดมด้วยสารสำคัญจากเปลาโนทอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อ H.Pylori มีงานวิจัยบอกว่า หากทานร่วมกับยาในกลุ่มยาฆ่าเชื้อ จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อ H.Pylori ได้ดีมากขึ้น สารเปลาโนทอล ยังมีฤทธิ์ในการกระตุ้นการสร้างเยื่อบุกระเพาะที่ถูกทำลายไป สมานแผลในกระเพาะอาหาร และใช้ตัวยาเสริมคือ กระเพราแดง ขิงแก่ ตะไคร้ ซึ่งมีสรรพคุณในการขับลม บำรุงกระเพาะ ฟื้นฟูระบบย่อยอาหาร สามารถทานร่วมกับยาแผนปัจจุบันได้ ปลอดภัย ดูรายละเอียดยาเพิ่มเติม คลิกที่นี่

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้