Last updated: 19 ธ.ค. 2566 | 97427 จำนวนผู้เข้าชม |
ไข้หวัดแดด คืออะไร?
ไข้หวัดแดด หรือเรียกว่า ไข้แดด เป็นภาวะที่ร่างกายข้างในเกิดความไม่สมดุล เนื่องจากมีความร้อนสะสมภายในร่างกายมากเกินไป (ทางแพทย์แผนไทยเรียกว่า "กำเดา" หรือไอความร้อน) ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากสภาพอากาศร้อน โดยเฉพาะคนที่ทำงานในที่กลางแจ้ง หรือทำงานในสถานที่ที่อากาศไม่ค่อยถ่ายเท รวมไปถึงการอยู่ในที่ๆเย็นมากๆแล้วสลับไปที่ร้อนๆ เช่นพนักงานออฟฟิต การเดินเข้าออกห้างสรรพสินค้า เดินเข้าออกบ้านที่เปิดแอร์เย็นๆ รวมถึงการรับสารพิษหรือเชื้อหวัดเข้ามาสะสมในร่างกาย ความร้อนที่สะสมในร่างกายส่งผลให้อวัยวะภายในร้อนตาม ส่งผลต่อตับ ม้าม กระเพาะอาหาร ระบบย่อยอาหาร คนที่มีอาการจึงมักท้องเสีย อาหารไม่ย่อย อ่อนเพลีย และหน้ามือวิงเวียนเนื่องจากเลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก
"ไข้หวัด" กับ "ไข้แดด" อาการแตกต่างกัน สังเกตุได้จากคนเป็นไช้หวัด จะมีน้ำมูก เสมหะ อาการเจ็บคอ เพราะเกิดจากเชื้อไวรัสและภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรง ในขณะที่ไข้แดด จะเป็นอาการจากพิษความร้อนสะสม ทำให้เกิดอาการครั่นเนื้อตัว ตัวร้อน แต่ไม่มีน้ำมูก ไม่เป็นหวัด
อาการของไข้หวัดแดด
1. มีไข้ แต่ไม่สูง (ไม่เกิน 40 องศา) ตัวรุมๆ จุดสังเกตุคือ ทานยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด เพราะไข้แดดเป็นไข้จากความร้อนสะสม
2. ปวดศีรษะเป็นระยะๆ บางคนอาจปวดหัวข้างเดียว หรือไมเกรนกำเริบ และมักมีอาการหน้ามืดวิงเวียนได้ง่าย
3. คอแห้ง ปากแห้ง เบื่ออาหาร ไม่สบายตัว ครั่นเนื้อครั่นตัว เพราะอวัยวะภายในร้อน ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร
4. ท้องเสีย ท้องร่วง ปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม และปัสสาวะมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ
5. ตาแห้ง ปวดแสบกระบอกตา เป็นสัญญานของร่างกายที่บอกว่าความร้อนสะสมในร่างกายเริ่มมากเกินไป หากมีอาการนี้ ควรพบแพทย์
การรักษาและป้องกันโรคไข้แดด
• หลักเลี่ยงการเผชิญแสงแดดจัดๆและสถานที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท การออกข้างนอกควรพกร่มออกไปด้วย
• ดื่มน้ำบ่อยๆ และไม่ควรดื่มน้ำเย็นจัด เพราะจะทำให้ภายในร่างกายร้อนขึ้นกว่าเดิม
• ร่างกายต้องการการปรับอุณหภูมิอย่างช้าๆ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการเข้า-ออก สถานที่เย็น ร้อน บ่อยๆ
• พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย ให้ร่างกายผ่อนคลาย
• ระมัดระวังเรื่องการทานอาหาร เพราะหน้าร้อน อาหารบูดเน่าได้ง่าย
• หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการเพิ่มเติม
17 พ.ค. 2561
14 ต.ค. 2561
10 ม.ค. 2562