Last updated: 21 ก.พ. 2562 | 9715 จำนวนผู้เข้าชม |
กรดไหลย้อน คือภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนกลับขึ้นมากัดกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารจนเกิดการหย่อนและอักเสบ ซึ่งบริเวณของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารอยู่ตรงกับตำแหน่งหน้าอกพอดี ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนจึงมีอาการหลักคือแสบร้อนกลางอก จุกแน่นหน้าอก กลืนลำบาก อาหารไม่ย่อย หากปล่อยไว้นานจนเรื้อรัง อาจมีอาการอื่นๆแทรกซ้อน เช่น โรคไส้เลื่อนกระบังลม, มะเร็งหลอดอาหาร, หูรูดหลอดอาหารอักเสบ สถิติของผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนใน 5 ปีที่ผ่านมามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วันนี้เรามารู้จักกับโรคกรดไหลย้อนกันค่ะ
สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน
"อาหารไม่ย่อย คือสาเหตุหลักของโรคกรดไหลย้อน"
อาหารไม่ย่อย ทำให้เกิดลมในท้อง เมื่อลมในท้องสะสมมากๆจึงท้องอืด ลมบางส่วนลอยตัวขึ้นมาทำให้จุกแน่นที่ท้อง หน้าอก รวมถึงการหลั่งน้ำย่อยในปริมาณที่มากขึ้น ทำให้น้ำย่อยโดนลมพัดขึ้นมากัดหูรูดหลอดอาหารจนอักเสบ ผู้มีอาการกรดไหลย้อนจึงมีอาการจุกแน่นหน้าอก แสบกลางอก เนื่องจากลมและน้ำย่อยในกระเพาะถูกดันตัวขึ้นมา
ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา อาหารไม่ย่อย คือ:
1. เคี้ยวอาหารเร็ว กินอาหารย่อยยาก ทำให้กระเพาะอาหารอาหารทำงานหนัก เพราะต้องหลั่งน้ำย่อยในปริมาณมากกว่าเดิมเพื่อย่อยอาหารชิ้นใหญ่ หรืออาหารที่ถูกบดเคี้ยวไม่ละเอียด
2. วิถีชีวิตและพฤติกรรมการทานอาหารที่เปลี่ยนไป เช่น กินผิดเวลา กินแล้วนอนทันที โดยปกติกระเพาะอาหารใช้เวลาย่อยอาหารประมาณ 3-4 ชั่วโมง การกินผิดเวลารวมถึงการกินแล้วนอน จึงทำให้น้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนตามแรงโน้มถ่วง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน และยังทำให้ระบบย่อยมีปัญหาอีกด้วย
3. กินอาหารไม่ถูกกับร่างกาย และกินไม่สมดุลย์ เช่น การดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้ลำไส้แห้ง การทานเนื้อสัตว์ในปริมาณมาก แต่ทานผักผลไม้น้อย ติดชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
4. ความเครียด กังวล จะกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร ทำให้สุขภาพกายและสุขภาพใจแย่ลง
5. ความเสื่อมของอวัยวะภายใน เนื่องจากอายุมากขึ้น อวัยวะภายในเริ่มเสื่อมตามช่วงวัยอายุ จึงทำให้ระบบการย่อย การดูดซึมทำงานได้ไม่สมบูรณ์เป็นผลให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ง่ายกว่าวัยรุ่นหรือวัยกลางคน
อาการของโรคกรดไหลย้อน
นอกจากอาการแสบร้อนกลางอกและอาหารไม่ย่อยแล้ว ยังมีอาการอื่นๆที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับระดับของอาการ และระยะเวลาที่เป็นมา เราสามารถสังเกตุและวินิจฉัยอาการเบื้องต้นได้ด้วยตนเองว่าเป็นโรคกรดไหลย้อนจากการสังเกตุอาการและความผิดปกติดังนี้
• จุกแน่นที่ลำคอ กลืนลำบาก เนื่องจากลมในกระเพาะอาหารลอยตัวขึ้นมาที่หน้าอก มักเกิดขึ้นในช่วงเช้าหลังตื่นนอน หรือช่วงบ่ายหลังทานอาหารเสร็จใหม่ๆ
• เบื่ออาหาร คลื่นไส้ เกิดจากลมตีขึ้นมาบริเวณศีรษะ ทำให้การไหลเวียนโลหิตไม่ดี ส่งผลให้น้ำหนักตัวลดลงด้วย
• แสบคอ มีรสเปรี้ยวหรือรสขมในปาก เจ็บคอ เสียงแหบ เนื่องจากน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมากัดบริเวณลำคอ และขึ้นมาที่ปาก หากมีอาการแบบนี้บ่อยๆ ถือว่าเป็นกรดไหลย้อนในระยะเริ่มรุนแรง
• ท้องผูก หรือถ่ายเป็นมูลแพะ เนื่องจากลำไส้ดูดซึมไม่ดีรวมถึงการดื่มน้ำน้อย ทำให้ของเสียตกเกาะเป็นก้อนตกค้างในลำไส้
• ไอเป็นโลหิต อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นสีเลือด หากมีอาการเหล่านี้ อาจเริ่มมีภาวะแทรกซ้อน เช่น มีเลือดออกภายใน ซึ่งเสี่ยงต่อการมีโรคแทรกซ้อน ควรได้รับการรักษาที่ถูกต้องโดยเร็วที่สุด
แนวทางการบรรเทาและรักษาโรคกรดไหลย้อน
• ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร ช่วยบรรเทาและป้องกันอาการกลับมาเป็นซ้ำ เช่น การเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ทานตรงเวลา หลังทานเสร็จใหม่ๆควรนั่งพักอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง และทานอาหารในสัดส่วนและปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละมื้อ หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ หากิจกรรมที่ผ่อนคลาย ไม่เครียดจนเกินไป
• การทานยาแผนปัจจุบันเพื่อบรรเทาและระงับอาการ เช่น ยาลดกรด ยาเคลือบกระเพาะอาหร ซึ่งยาเหล่านี้ถูกสังเคราะห์ด้วยกระบวนการทางเคมี ซึ่งมีคุณสมบัติในการออกฤทธิ์ได้เร็ว เหมาะสำหรับการใช้เพื่อบรรเทาอาการในระยะเวลาสั้นๆ หากอาการหายแล้ว ก็สามารถหยุดทานได้
• การรักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยยาสมุนไพร ซึ่งแนวทางการรักษาด้วยยาสมุนไพร จะใช้ยาสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการขับลม บำรุงกระเพาะ บำรุงน้ำดี ฟื้นฟูระบบย่อยอาหาร รวมถึงการใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการสมานแผลในกระเพาะและการลดการอักเสบภายใน
ตำรับยาสมุนไพรช่วยรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร
โรคกรดไหลย้อน และโรคกระเพาะอาหาร ในทางแพทย์แผนโบราณวินิจฉัยได้จากความผิดปกติของธาตุไฟ คือ ไฟย่อยอาหารหย่อน เมื่อธาตุไฟหย่อน ธาตุลมจึงมีกำลังมาก ตำรับยาที่ใช้จึงต้องมียาที่มีสรรพคุณร้อนเพื่อขับลม บำรุงไฟธาตุ รวมถึงการสมานบาดแผลภายในและการลดการอักเสบ
ยาขับลมตราเพชรแดง ตำรับยาจากสมุนไพร 4 ชนิด เปล้าตะวัน กระเพราแดง ขิงแก่ ตะไคร้ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร บำรุงกระเพาะอาหาร ฟื้นฟูระบบย่อย (ในทางแพทย์แผนไทยเรียกว่า บำรุงไฟย่อย หรือ ไฟกองปริณามัคคี) สมานแผลในกระเพาะอาหารและรักษาโรคกรดไหลย้อน ดูรายละเอียดยาเพิ่มเติม คลิกที่นี่
27 ก.ย. 2561
4 ก.ย. 2562
30 พ.ค. 2561